เลือกหนทางที่เรารู้คำตอบแล้ว

通訳 ライアンスン

จากการสังเกตการตัดสินใจในสถานะการต่างๆของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นที่ผมเคยร่วมงานด้วย ผมพบว่า การตัดสินใจในหลายๆสถาณการณ์ของผู้บริหารเหล่านี้แทบทุกคนจะมีหลักการคล้ายๆกันอันหนึ่ง นั่นก็คือการเลือกหนทางที่เขารู้คำตอบแล้ว เพราะว่าวิธีการใดๆก็ตามที่เรารู้คำตอบแล้ว เราจะสามารถบริหารจัดการมันได้
ผมเคยอ่านเจอในหนังสือของปีเตอร์ ดรักเกอร์ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการบริหารยุคใหม่ เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด ซึ่งดรักเกอร์เคยพูดไว้เมื่อหลายสิบปีก่อนว่า อะไรที่เราสามารถวัดผลได้ เราก็จะสามารถบริหารจัดการได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าหลักการนี้เป็นหลักการในการบริหารที่อยู่เหนือกาลเวลา อยู่เหนือเชื้อชาติวัฒนธรรม ซึ่งหลักการเหล่านี้แม้จะเป็นนักปราชญ์ที่ไม่ได้เกิดร่วมยุค ร่วมวัฒนธรรมเดียวกัน แต่เมื่อปราชญ์เหล่านั้นได้ครุ่นคิดเกี่ยวกับมันมากพอ พวกเขาจะสามารถค้นพบมันได้เหมือนๆกัน
หลักการนี้ได้กลายเป็นกฎที่ไม่มีการบัญญัติ แต่ได้ถูกปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในวัฒนธรรมการบริหารของชาวญี่ปุ่น ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ สมมติชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งต้องตัดสินใจซื้อเครื่องจักรซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วว่า ใครๆก็อยากจ่ายถูกที่สุด สมมติเครื่องจักรนั้นที่บริษัทชาวญี่ปุ่นด้วยกันขาย 20 ล้าน ในขณะที่บริษัทจากประเทศอื่นๆขาย 10 ล้าน บ้าง 8 ล้านบ้าง ถ้าคิดแต่ค่าเครื่องเราก็ควรซื้อของจีนเพราะราคาถูกที่สุด แต่ในความเป็นจริง หากเราซื้อเครื่องแล้วบริษัทญี่ปุ่นส่วนมากจะรับติดตั้งและซ่อมบำรุงให้ด้วย(คิดเงินเพิ่มจากค่าเครื่อง) ในขณะที่บริษัทไต้หวันหรือบริษัทจีนส่วนมากอย่าว่าแต่มาซ่อมเลย แม้แต่การติดตั้งบางทียังไม่มาติดตั้งให้เลย ทำให้เราต้องหาช่างในท้องถิ่นติดตั้งเอง ซึ่งเครื่องจักรบางเครื่องหากติดตั้งไม่ถูกต้อง เครื่องก็ไม่สามารถใช้งานได้ และในความเป็นจริงผมก็เคยเห็นซากเครื่องจักรใหม่จากบริษัทที่ไม่ใช่ของชาวญี่ปุ่นราคา 10 ล้านบาทกองทิ้งไว้ในบริษัทแห่งหนึ่งโดยไม่เคยผลิตงานได้แม้แต่ชิ้นเดียวมาแล้ว ดังนั้นผู้บริหารชาวญี่ปุ่นจึงมักจะเลือกซื้อเครื่องจากบริษัทญี่ปุ่น เพราะว่าเขารู้ว่ามันจะใช้ได้แน่ๆ และถ้าเขารู้ว่ามันจะใช้ได้แน่ๆในต้นทุนเท่าไหร่ เขาก็สามารถคิดหาวิธีบริหารจัดการจนคืนทุนค่าเครื่องได้
หลักการนี้ยังถูกนำมาใช้เป็นหลักการในการบริหารงานบุคคลด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากผู้บริหารค้นพบปัญหาแล้วว่า ภาษาเป็นกำแพงในการสื่อสารระหว่างชาวญี่ปุ่นกับชาวไทยในบริษัท และเล็งเห็นว่าจะต้องนำเข้าทักษะอะไรบางอย่างเพื่อให้การสื่อสารในองค์กรเป็นไปได้อย่างราบรื่นขึ้น ตัวเลือกสำหรับการนี้มี 2 อย่างคือ 1)ส่งคนในองค์กรไปเรียนมา สามารถทำได้สองวิธีคือส่งคนไทยไปเรียนภาษาญี่ปุ่น หรือส่งคนญี่ปุ่นไปเรียนภาษาไทย และ 2)หาจ้างคนที่พูดเป็นทั้งสองภาษาเข้ามาเป็นล่าม ถ้านักเรียนอ่านมาถึงตรงนี้ และเข้าใจประเด็นที่ผมจะสื่อแล้ว นักเรียนลองทายดูสิครับว่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นส่วนมากจะเลือกวิธีไหนในการนำเข้าทักษะนี้มาสู่องค์กร

満席前に日タイ交流会バンコクに申し込む!
สมัครJTCกรุงเทพฯก่อนเต็ม! เพื่อนชาวญี่ปุ่นรออยู่
2024年05月11日(土) 18:00~21:00 (地図)
11/May/2024(Sat) 18:00~21:00 (แผนที่)


※送信後の確認メールはありませんが送信後に画面が切り替わり「メッセージを送信しました」と出れば送信完了です

※หลังจากได้ทำการลงทะเบียนแล้ว ภาพหน้าจอจะปรากฎข้อความภาษาญี่ปุ่นว่า ”メッセージを送信しました” (แปลว่าส่งข้อความเรียบร้อยแล้ว) ถือว่าท่านได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

-お知らせ ข่าวประกาศ

Copyright© Ryan Sun Sensei คอร์สติวสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นอาจารย์ไรอัน สุน , 2024 All Rights Reserved.