กันอีกเช่นเคยนะครับวันนี้เป็นตอนที่ 9 สำหรับปีนี้แล้วครับ ผม กับพี่เอ็มแห่งเพจล่ามอิสระ กับพี่โอ๋แอดมินกลุ่มサイアムフリー
และน้องไดตัวแทนเด็กรุ่นใหม่ได้คุยกันว่า กิจกรรมนี้ในปีนี้จะมี 10 ตอน คือตอนหน้าก็จะเป็นตอนสุดท้ายแล้วนั่นเอง แล้วเราค่อยมาพบกันใหม่ในปีหน้าครับ (แหมทำอย่างกับซีรี่ย์) โดยหัวข้อหลักของซีชั่นนี้คือ TPS หรือ トヨタ生産方式 นั่นเองครับ ในซีซั่นหน้า ใครอยากให้พวกเราอธิบายเกี่ยวกับหัวข้อหลักเรื่องอะไรก็นำเสนอกันเข้ามาได้นะครับ แล้วพวกเราจะนำเข้ามาพิจารณากัน แต่อาจจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของแฟนๆ ได้ทุกคน อย่างไรก็ต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ
สำหรับวันนี้ เรามาพบกับคำว่า 釣瓶方式 (つるべほうしき)กันครับ
釣 (つる) ตกปลา
瓶 (べ) ขวด
方 (ほう) วิธีการ
式 (しき)รูปแบบ
พอแยกดูทีละตัวก็จะเริ่มจะทำความเข้าใจง่ายนิดนึง
釣瓶 ก็คือ ถังตักน้ำจากบ่อน้ำใต้ดินซึ่งเราสามารถเห็นได้ในหนังจีนโบราณ ที่จะมีเชือกผูกถังน้ำเอาไว้ แล้วโยนลงไปในบ่อ แล้วก็หมุนๆ ขึ้นมา
ในแนวคิดของ TPS ก็ใช้หลักการของ 釣瓶มาดัดแปลงเป็น 釣瓶方式 ซึ่งหมายถึง วิธีการผลิตแบบที่เมื่อกระบวนการต่อไปดึงงานไปใช้ กระบวนการก่อนหน้าจะได้รับการป้อนวัตถุดิบมากพอสำหรับจะผลิตงานเท่าที่ถูกดึงไป
เนื่องจากคำนี้ยังไม่มีแปลไทย ดังนั้นผมจึงขอแปลไทยในแบบของผมเองว่า
釣瓶方式 = รูปแบบการผลิตแบบระหัดวิดน้ำ
เพราะว่าหลักการทำงานของระหัดวิดน้ำก็คือ เมื่อน้ำในถังข้างบนถูกเทออกไป น้ำในถังข้างล่างก็จะตักน้ำใหม่พอดี
หลักการของ つるべ方式 ก็คือ ถ้างานโดนดึงไปหนึ่งชิ้นก็จะได้รับวัตถุดิบใหม่หนึ่งชิ้น เพื่อให้ไม่สามารถผลิตงานมากเกินความต้องการได้ ซึ่งระบบนี้จะเป็นระบบอุดมคติสำหรับการป้องกันปัญหาความสูญเปล่าสิ้นเปลืองจากการผลิตมากเกินความจำเป็น (造り過ぎの無駄)
และในขณะที่งานยังไม่ถูกดึงไป กระบวนการนั้นก็ต้องหยุดผลิต ทีนี้ถ้ามีพนักงานอยู่หละ นั่นแหละครับถ้าไม่สามารถจัดการอะไรได้ ก็ต้องให้ยืนรอครับ เพราะการให้พนักงานยืนรอเฉยๆ จะเกิดความสูญเปล่าสิ้นเปลืองจากการรอ(手待ちの無駄)ซึ่งเมื่อนำไปเทียบกับความสูญเปล่าสิ้นเปลืองจากการผลิตมากเกินความจำเป็นแล้ว ความสูญเปล่าสิ้นเปลืองจากการรอจะเสียหายน้อยกว่ามากครับ เพราะต้นทุนในการผลิตงานใดๆนั้นจะประกอบด้วย 1)ค่าแรง 2)ค่าวัตถุดิบ 3)ค่าอุปกรณ์สิ้นเปลือง 4)ค่าเสื่อมเครื่องจักร ถ้าเราผลิตงานมากเกินไปแล้วขายไม่ได้ เท่ากับว่าเราเสียเงินไปทั้งหมด 4 ส่วนเลย แต่ถ้าเราให้พนักงานรอ เราเสียเงินแค่ 2 ส่วน คือค่าแรง กับค่าเสื่อมเครื่องจักร
แม้อุดมคติจะเป็นแบบนั้นก็จริง แต่ว่าในความเป็นจริง มีเรื่องทางเทคนิคอยู่เยอะพอสมควรถ้าเป็นกระบวนการสั้นๆก็ง่ายหน่อย แต่ถ้าเป็นกระบวนการยาวๆ ก็ยากมากที่จะนำระบบนี้เข้ามาใช้ ยกตัวอย่างเช่น งานที่กระบวนการต่อไปจะมาดึง ต้องดึงเป็นหน่วยอะไร ทีละ 1 ชิ้น ทีละ 1 กล่อง หรือทีละ 1 พาเลท หรือทีละ 10 พาเลท เพราะถ้าเรากำหนดให้มาดึงทีละหน่วยน้อยๆ ก็จะเกิดการขนส่งหลายครั้ง แต่ถ้าเรากำหนดให้มาดึงทีละเยอะๆพอดึงไปแล้วใช้ไม่หมดก็เกิดเป็นความสูญเปล่าสิ้นเปลืองจากการผลิดมากเกินอีก หรืออย่างเช่น เราจะมีงานเตรียมไว้ให้กระบวนการต่อไปมาดึงปริมาณเท่าไหร่ดี ถ้ากำหนดไว้มากไปก็เกิดความสูญเปล่าสิ้นเปลืองจากการผลิตมากเกิน ถ้ากำหนดไว้น้อยเกิน เมื่อออร์เดอร์เข้ามามากๆ ก็ไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้ทัน ทำให้เสียยอดขายที่ควรจะได้ในส่วนนั้นไป และการดึงงานเขาจะมาดึงที่ท้ายไลน์ใช่ไหมครับ แต่คนของไลน์นั้นที่ต้องไปรับวัตถุดิบมาอาจจะเป็นคนที่ไม่ได้อยู่ท้ายไลน์ก็ได้ใช่ไหมครับ เราจะต้องทำอย่างไงให้คนนำวัตถุดิบมาเข้าไลน์รู้ว่าต้องเอาวัตถุดิบมาแล้วนะ จำนวนเท่านี้นะ อะไรแบบนี้ ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนจะเริ่มนำระบบการผลิตแบบระหัดวิดน้ำเข้ามาใช้ครับ และเมื่อคิดได้แล้ว ลองนำไปใช้แล้ว ตรงไหนยังมีปัญหาก็ต้องปรับจูนกันต่อไปจนกว่าระบบจะรันได้ด้วยดี เมื่อระบบรันได้แล้ว เราก็ยังต้องมีการคงสภาพระบบ โดยการทบทวนค่าต่างๆที่ตั้งไว้ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลาด้วยครับ