2 ประเภทคือล่ามแปลพร้อม(同時通訳(どうじつうやく))กับล่ามแปลสลับ(逐次通訳(ちくじつうやく))
นอกจากเนื้อหาที่ล่ามต้องแปลแล้วเรายังแบ่งล่ามได้จากวิธีล่ามด้วย ซึ่งแต่ละวิธีก็ต้องการความสามารถของล่ามที่แตกต่างกันไปดังนั้นเพื่อให้เราสามารถบอกคนอื่นได้ว่าเราอยู่ในระดับไหน จึงต้องทำความเข้าใจเอาไว้ ในบทความนี้จะกล่าวถึงล่าม 2 ประเภทหลักๆซึ่งก็คือ ล่ามแปลพร้อม และ ล่ามแปลสลับ
การล่ามแปลสลับ
ล่ามแปลสลับเป็นวิธีแปลที่เป็นพื้นฐานของล่าม โดยล่ามจะทำความเข้าใจในเนื้อหาก่อนแล้วจึงค่อยเริ่มแปลเพื่อบอกเนื้อหาเหล่านั้นให้คนอื่น ดังนั้นการแปลด้วยวิธีนี้จึงแปลแบบคร่าวๆก็ได้ แล้วแถมยังจดได้ด้วย จึงทำให้การแปลด้วยวิธีนี้จะง่ายกว่า
แล้วหากมีบางส่วนที่ฟังไม่เข้าใจก็ยังสามารถสอบถามเพื่อความเข้าใจได้อีกด้วย ดังนั้นการแปลด้วยวิธีนี้จะทำให้เรื่องที่จะพูดคุยนั้นต้องใช้เวลาเป็น 2 เท่าของการพูดคุยกันตามปกติ แต่ข้อดีของการล่ามด้วยวิธีนี้ก็คือทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจกันได้มากกว่า ดังนั้นหน้างานล่ามส่วนมากจึงมักเลือกใช้วิธีนี้
การล่ามแปลพร้อม
การล่ามอีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีที่ต้องใช้ความสามารถเชิงล่ามสูงขึ้นก็คือการล่ามแปลพร้อม การล่ามแปลพร้อมก็ตรงตัวเลยนะครับคือการฟังไปแปลไป คือการฟังพร้อมๆกับแปลดังนั้นจึงต้องการทักษะเชิงล่ามในระดับสูง การล่ามแบบนี้แม้จะถูกใช้ตอนประชุม หรือตามงานสัมมนาต่างๆ แต่บางครั้งล่ามจะไม่ได้นั่งอยู่ในห้องประชุมด้วย แต่จะใช้ไมโครโฟน และ เอียร์โฟน ในการแปลจากนอกโต๊ะประชุม เนื่องจากวิธีล่ามแบบนี้ล่ามจะไม่สามารถถามคนพูดได้ ดังนั้นการล่ามด้วยวิธีนี้ ผู้ทำหน้าที่ล่ามจะต้องมีความสามารถในการจัดการข้อมูลในระดับสูง
นอกจากนั้นบางครั้งเราจะเห็นตามรายการทีวีที่เขาเชิญแขกรับเชิญชาวต่างชาติมาแล้วมีล่ามคอยแปลอยู่ข้างๆแขกรับเชิญนั้น วิธีล่ามแบบนี้เรียกว่า ล่ามแปลกระซิบ(ワィスパリング通訳) ซึ่งถือเป็นกลุ่มหนึ่งที่ใช้วิธีแปลแบบการล่ามแปลพร้อม
แหล่งที่มา
http://to-be-interpreters.com/iroha/simultaneous-interpreters/