วิธีการแปลเมื่อเราไม่มีความรู้ในเรื่องที่กำลังจะแปล

อยู่ดีๆก็ถูกให้แปลเรื่องที่เราไม่รู้เรื่อง
.....
นี่เป็นความทุกข์ใจของล่ามหลายคนที่ผมได้พบเจอมา
ซึ่งผมเองก็เคยลำบากใจกับปัญหาเหล่านี้มาเช่นกัน และผมเองก็ได้หาวิธีแก้ปัญหาในแบบของผมได้แล้ว จึงอยากจะเขียนแบ่งปันให้กับล่ามคนอื่นๆด้วย

理解

By: BK

เพราะว่า ผมสังเกตเห็นว่าเจ้านายจะคอยสังเกตว่า แม้จะไม่อธิบายอะไรให้เราเยอะ เราจะแปลรู้เรื่องไหม ... เค้าคอยสังเกตตลอดแหละครับ

ในการเป็นล่าม การที่เราจะล่ามเรื่องใดๆได้นั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พื้นทางทางด้านภาษาทั้งสองภาษานั่นเอง

และนอกจากนั้นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราล่ามได้ดีขึ้นก็คือ ความรู้ในเรื่องที่เรากำลังจะแปล ในส่วนนี้จะรวมถึงความรู้ในเรื่องของหลักการของเรื่องนั้นๆว่าอะไรเชื่อมโยงกับอะไรได้อย่างไร และความรู้เกี่ยวกับที่มาที่ไปว่าเรื่องนั้นๆเคยดำเนินการมาอย่างไร และตอนที่เรากำลังจะล่ามนั้นเรื่องราวมาถึงจุดไหนแล้ว และยังรวมถึงศัพท์เฉพาะทาง หรือศัพท์เทคนิคและนิยามของศัพท์นั้นสำหรับเรื่องนั้นๆด้วย

แต่ว่าปัญหาที่พบได้บ่อยคือ ผู้เป็นล่าม ไม่มีความรู้ในเรื่องทางเทคนิค
ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้ใช้ล่ามไม่ค่อยเข้าใจ หรือแม้จะเข้าใจว่าผู้เป็นล่ามไม่มีความรู้ทางเทคนิค แต่ก็ไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไรอยู่ดี

ในฐานะที่ผมเองก็เป็นล่ามมายาวนาน แม้ตอนนี้จะได้รับงานเป็นผู้จัดการแล้วก็ตามที แต่ก็มีบางครั้งที่ยังต้องทำหน้าที่ล่ามอยู่เหมือนกัน ผมจึงจะขอแชร์วิธีการทำงานเมื่อต้องแปลเรื่องราวที่เราไม่รู้เรื่องมาก่อน

เรื่องราวที่เราไม่รู้เรื่องมาก่อน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆก็คือ
1) เรื่องที่เราไม่รู้หลักการ
2) เรื่องที่เราไม่รู้ที่มาที่ไป
3) เรื่องที่เราไม่เข้าใจศัพท์เทคนิค

แต่ละเรื่องก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์ และวิธีฝึกเพิ่มความสามารถแตกต่างกันไปครับ

วันนี้ผมจะเขียนเฉพาะวิธีแก้ไขสถานการณ์ และวิธีเพิ่มความสามารถสำหรับเรื่องที่เราไม่รู้เรื่อง กลุ่มที่ 1) เรื่องที่เราไม่รู้หลักการก่อนนะครับ

การแก้สถานการณ์
สำหรับเรื่องแบบนี้ในขั้นแรกผมจะพยายามแปลไปตามความรู้พื้นฐานทางภาษาก่อนครับ
โดยขั้นแรก เราต้องพยายามทำความเข้าใจสารต้นทาง โดยผมจะศึกษาประโยคต้นทางว่าประกอบด้วยคำว่าอะไรบ้าง ใช้ไวยากรณ์แบบไหนบ้าง เป็นประโยคประเภทใด น้ำเสียงเป็นแบบใด แล้วคิดซ้ำอีกทีว่ามีการละประธาน กริยา กรรม หรือไม่ ถ้ามี คำที่ถูกละไปคือคำว่าอะไร มีท่าทางอะไรที่ผู้พูดแสดงออกและต้องนำมาตีความบ้างไหม ถ้ามี ท่าทางแบบนั้นต้องตีความว่าอย่างไร และมีวัฒนธรรมหรือค่านิยมใดของผู้พูดที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่
เมื่อทำความเข้าใจภาษาต้นทางได้เรียบร้อยแล้ว ผมก็จะนำมาแต่งประโยคแปล โดยในขณะที่แต่งประโยคแปลจะเน้นไปที่ไวยากรณ์แล้วก็คำศัพท์ในประโยคต้นทางมาใส่ๆลงไป แล้วทบทวนดูอีกครั้งว่าได้ความหมายตรงกับประโยคต้นทางไหม และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ น้ำเสียงตรงไหม เพราะมีคำพูดมากมายที่ดูแค่ตัวหนังสืออาจจะได้ความหมายเหมือนกัน แต่น้ำเสียงแตกต่างกันอย่างมาก เสร็จแล้วก็จะทบทวนประโยคนั้นอีกรอบว่าเป็นประโยคที่เข้าใจง่ายหรือยัง ยังสามารถเกลาตรงไหนเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่ายได้อีกหรือไม่
แล้วจึงค่อยล่ามออกไป .... ทั้งหมดนี้ภายในไม่เกิน 3 วินาทีครับ
ถ้าช้ากว่านั้น ผู้พูดและผู้ฟังจะรู้สึกว่ารอนาน

วิธีฝึกเพิ่มความสามารถ
เมื่อเราผ่านพ้นสถานการณ์ข้างต้นนั้นไปได้ ไม่ว่าจะด้วยดีหรือด้วยไม่ดีอย่างไรก็ตาม เรื่องนั้นจะยังไม่จบแค่นั้นครับ หรือเราไม่ควรปล่อยให้จบ ล่ามอย่างเราต้องไม่ปล่อยให้เหตุการณ์แบบนั้นเกิดกับเราอีกเป็นครั้งที่สอง ดังนั้น ผมจะไปค้นหาหลักการของเรื่องนั้นแล้วอ่านทำความเข้าใจ เพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน ของเรื่องนั้นๆเพื่อที่ว่า เมื่อเราต้องเจอเรื่องเดิมอีก เราจะได้แปลได้อย่างมีความรู้พื้นฐาน ก็จะทำให้เราล่ามได้สบายขึ้น เร็วขึ้น แถมมีความถูกต้องมากขึ้นด้วย ... แต่ถ้าเจอเรื่องใหม่ก็วนลูปใหม่ตั้งแต่ต้นอีกครั้งครับ

https://www.facebook.com/ryansunsensei/photos/pcb.1981990152035190/1981959445371594/?type=3&theater

満席前に日タイ交流会バンコクに申し込む!
สมัครJTCกรุงเทพฯก่อนเต็ม! เพื่อนชาวญี่ปุ่นรออยู่
2024年05月11日(土) 18:00~21:00 (地図)
11/May/2024(Sat) 18:00~21:00 (แผนที่)


※送信後の確認メールはありませんが送信後に画面が切り替わり「メッセージを送信しました」と出れば送信完了です

※หลังจากได้ทำการลงทะเบียนแล้ว ภาพหน้าจอจะปรากฎข้อความภาษาญี่ปุ่นว่า ”メッセージを送信しました” (แปลว่าส่งข้อความเรียบร้อยแล้ว) ถือว่าท่านได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

-お知らせ ข่าวประกาศ

Copyright© Ryan Sun Sensei คอร์สติวสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นอาจารย์ไรอัน สุน , 2024 All Rights Reserved.