วิธีปฏิบัติของคนญี่ปุ่นเมื่อพบปัญหา

ผมเชื่อว่ามีแฟนเพจหลายคนในนี้เป็นล่ามในโรงงาน และอาจจะเคยหรือกำลังพบปัญหาที่ผมเคยพบมาเหมือนกัน นั่นก็คือ การล่ามเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เมื่อผมเป็นล่ามไปซักระยะหนึ่ง ทำให้ผมพอจะจับแนวทางการแก้ปัญหาของคนญี่ปุ่นได้ เราก็ล่ามได้ไวขึ้น มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น จนคนรอบข้างมองเห็นว่าเราล่ามได้เก่งขึ้น เมื่อเขาเห็นเราล่ามได้เก่งขึ้น

5ゲン主義

By: cortto

.....
แน่นอนครับ ....

เราก็จะได้โอกาสล่ามในงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ

(อ้าวไม่ใช่เงินเดือนขึ้นหรอ)

ใจเย็นๆครับ เงินเดือนส่วนมากจะขึ้นเมื่อเขาเห็นว่าเราทำได้ครับ

ดังนั้นผมจึงเขียนบทความบทนี้ขึ้นเพื่อแนะนำแนวทางในการแก้ปัญหาของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นครับให้ล่ามได้รู้ เพื่อเป็นแนวทางในการล่ามกันครับ

เมื่อเกิดปัญหาใดๆขึ้น เราต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า(処置 しょち)ไปก่อน เราต้องผ่านจากจุดนั้นให้ได้
เช่นถ้าเครื่องจักรเสีย วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็คือ ย้ายไปทำเครื่องอื่น เป็นต้น

เมื่อเราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจบแล้ว ก็ได้เวลาไปรายงานเจ้านายแล้วครับว่า มีปัญหาเกิดขึ้น และเราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปแล้วอย่างไร

หลังจากนั้นเขาก็จะพยายามตรวจสอบสภาพการณ์ปัจจุบัน (現状把握 げんじょうはあく) เท่าที่จะสามารถทำได้ตามหลักการ 5ゲン主義 (ผมขอแปลว่า ความจริง 5 ประการ)

อันได้แก่
1) 現場 (げんば) สถานที่จริง หมายถึง สถานที่ปฏิบัติงาน หรือสถานที่ที่เกิดเหตุ
2) 現物 (げんぶつ) ของจริง หมายถึง ตัวชิ้นงาน หรือ เครื่องจักร หรือสิ่งของที่เกิดปัญหา
3) 現実 (げんじつ) ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อมูลตอนเกิดปัญหา
4) 原理 (げんり) หลักการจริง หมายถึง หลักการที่ถูกต้อง ซึ่งการทำงานใดๆก็ตาม เราต้องอ้างอิงอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง แม้ว่าในความเป็นจริงเราจะไม่สามารถทำงานได้ถ้ามัวแต่ทำตามหลักการ แต่เราต้องรู้ว่าหลักการที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร
5) 原則 (げんそく) ข้อกำหนดจริง หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับงานนั้นๆมีว่าอย่างไรบ้าง ข้อกำหนดก็มักมีอยู่ว่า ต้องทำอะไรบ้างหรือห้ามทำอะไรบ้าง

ซึ่งวิธีแปล 5ゲン主義 ถ้าใครไม่ชอบคำแปลข้างบนนี้สามารถคิดเองได้ครับจากคำอธิบายในลิ้งค์ด้านล่างนี้
5ゲン主義

เมื่อเรารู้ข้อมูลของปัญหาแล้ว สิ่งที่คนญี่ปุ่นจะทำต่อไปก็คือคิดมาตรการชั่วคราว(暫定対策 ざんていたいさく บางโรงงานก็อาจจะเรียกว่า 仮対策 かりたいさく) เช่น ถ้าเครื่องจักรพังก็ใช้เครื่องจักรอีกตัวหนึ่งไปซักระยะหนึ่งก่อน หรือซ่อมให้พอใช้ได้เท่าที่ใช้ได้ไปก่อน

หลังจากนั้น คนญี่ปุ่นก็จะพยายามหาวิธีแก้ปัญหาระยะยาว (永久対策 えいきゅうたいさく หรือบางโรงงานอาจจะเรียกว่า 恒久対策 こうきゅうたいさく ) คือต้องหาคำตอบให้ได้ว่า ทำอย่างไรปัญหาจึงจะไม่เกิดขึ้นอีก ดังนั้นคำว่ามาตรการระยะยาว บางโรงงานก็ตั้งชื่อว่า มาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ (再発防止策 さいはつぼうしさく)

เมื่อหามาตรการระยะยาวได้แล้ว ... (เคย)คิดว่าจะจบแล้ว แยกย้ายกัน

แต่ความจริงยังไม่จบเท่านั้นครับ

คนญี่ปุ่นมักจะตรวจคำตอบด้วยคำถามที่ว่า ถ้าก่อนที่จะเกิดปัญหาเราทำมาตรการนั้น แล้วปัญหาจะไม่เกิดใช่ไหม โดยเขาอาจจะถามว่า そのときそれをやっていれば、問題発生しなかったと思うかい?

ถ้าคำตอบคือ ใช่ และอธิบายให้เขายอมรับได้ ก็แยกย้ายได้
ถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่ หรือไม่สามารถอธิบายให้เขายอมรับได้ ก็เริ่มวนลูป 5ゲン ใหม่ครับ

เจอคำถามนี้เข้าไป ส่วนมากจะได้ล่ามต่ออีกระยะหนึ่งครับ

満席前に日タイ交流会バンコクに申し込む!
สมัครJTCกรุงเทพฯก่อนเต็ม! เพื่อนชาวญี่ปุ่นรออยู่
2024年05月11日(土) 18:00~21:00 (地図)
11/May/2024(Sat) 18:00~21:00 (แผนที่)


※送信後の確認メールはありませんが送信後に画面が切り替わり「メッセージを送信しました」と出れば送信完了です

※หลังจากได้ทำการลงทะเบียนแล้ว ภาพหน้าจอจะปรากฎข้อความภาษาญี่ปุ่นว่า ”メッセージを送信しました” (แปลว่าส่งข้อความเรียบร้อยแล้ว) ถือว่าท่านได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

-お知らせ ข่าวประกาศ

Copyright© Ryan Sun Sensei คอร์สติวสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นอาจารย์ไรอัน สุน , 2024 All Rights Reserved.