คำถาม : ปกติเป็นนักแปล เป็นคนเขียนหนังสือช้า ทั้งๆที่ทำอย่างอื่นเร็วหมดทำไงดี แล้วเวลาเจอคำไม่รู้ทำไง
คำตอบ : เวลาผมล่ามส่วนมากก็ไม่ได้จดครับ ใช้เทคนิคจำเป็นภาพแบบลูกโซ่ครับ
เวลาอยู่หน้างานแล้วเจอคำที่แปลไม่ได้นะครับผมจะมีเทคนิคคือ
1)ถ้ารู้ความหมายของศัพท์ต้นทางไม่รู้คำศัพท์ของภาษาปลายทาง จะใช้เทคนิคอธิบายหรือภาษาอังกฤษเช่น ตรงนี้ที่จริงต้องมีกรอง แต่เครื่องของคุณทำไมไม่มีกรอง เราอาจแปลโดย ここには濾過するための部品があるはずだが、どうしてないの。
หรือแปลโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็น ここにはフィルターがあるはずだが、どうしてないの。
2)ถ้าไม่รู้คำศัพท์ของภาษาต้นทาง แต่รู้ส่วนประกอบอื่นในประโยคทั้งหมด ผมจะแปลโดยติดคำนั้นในภาษาต้นทางไว้ เช่น สันนิษฐานว่ากูปรีตัวนี้ตายเพราะกินต้นไมยราพพิษเข้าไป ก็ล่ามเป็น このクプリーがマイヤラーピットの木を食べて死んだと考える。
3)ถ้าไม่รู้อะไรเลยทั้งประโยค ก็เงียบๆไว้ แล้วรอฟังประโยคต่อไปครับ จากที่แปลมาหลายปี คนพูดส่วนมากไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เขาจะพูดย้ำประเด็นสำคัญ 2 ครั้งขึ้นไปครับ พอประเด็นนั้นวนมาอีกครั้งส่วนมากเราก็จะแปลได้แล้ว เพราะได้ฟังคำอธิบายมาบางส่วนแล้ว
การแปลเอกสารกับการล่าม ส่วนมากเอกสารแปลจะยากกว่า การล่ามการพูดส่วนมากเนื้อหาจะง่ายกว่าครับ แต่การล่ามการพูดนี่จะเน้นความเร็วมาก เช่นผมเคยล่าม 4 ชม. (คนพูดใช้เวลารวมกันประมาณ 2 ชม. ล่ามใช้เวลาประมาณ 2 ชม.) บันทึกได้เนื้อหา 20 หน้า ผมแปลใช้เวลา 8 ชม.
ดังนั้น ถ้าไม่ค่อยเคยล่าม แนะนำอย่างยิ่งให้ฝึกล่ามครับ ในเวลาเตรียมตัวที่มีจำกัด
อ้อแล้วก็พยายามศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องไปล่ามให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับ